ครูมืออาชีพ ต้องมีทักษะและมุ่งมั่นในการ “อุ้ม ลาก จูง พยุง ประคอง ประกบ กำกับติดตาม และเฝ้ามองลูกศิษย์ด้วยความชื่นชม” ปฏิบัติการเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับสมรรถนะหรือระดับความสามารถของลูกศิษย์เป็นรายบุคคล
โครงการนี้ เป็นโครงการทดลองนำร่องสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู สำหรับผู้เรียนในหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(Ethic in Professional Learning Community : e-PLC) ซึ่งมีการประชุมเพื่อชี้แจงจดมุ่งหมายและแนวทางดำเนินการในวันจนทร์ 3 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.30-14.00 น. ณ ห้องประชุมบุณยเกตุ ชั้น 1 อาคารหอประชุมคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
“คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรฐานสมรรถนะบัณฑิตไทยตามมาตรฐาน TQF การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ หรือส่งเสริมให้ครูดำเนินชีวิตตามจารีตที่ดี ที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา การพัฒนาในเรื่องนี้ อาจจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่
- การคัดคนเข้าเรียนครู ควรมีคุณสมบัติพื้นฐานหรือค่านิยมอย่างไร
- ระหว่างเรียน ปีที่ 1-2
- ขณะเรียนปีที่ 3-4
- การปฏิบัติตนในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ
- การเจริญทางจรรยาบรรณในช่วงเริ่มต้นในวิชาชีพ
ในแต่ละช่วงเวลา อาจมีกระบวนการฝึก การประเมินหรือการเสริมแรงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การพัฒนาหรือการหล่อหลอมด้านจริยธรรม จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ รวมถึงจะต้องมีการประเมินด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้