การพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ : Learning & Growth

ทุกปีการศึกษา วิทยาลัยได้พัฒนาสมรรถนะคณาจารย์อย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินภายในมาเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุง-พัฒนา  เช่น ในต้นปีการศึกษา 2560  ได้อบรม-ส่งเสริมให้คณาจารย์รับทราบ (1) ตัวบ่งชี้ในการกำกับคุณภาพระดับสถาบัน  ระดับคณะ ระดับหลักสูตร และระดับอาจารย์ผู้สอนรายบุคคล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบบทบาทหน้าที่ในการพัฒนางานให้มีคุณภาพ บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด (2) ระบบ IQA ที่อาจารย์ควรรู้ (3) การออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน(The Research-Based Instructional Strategies) และ (4) บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับอุดมศึกษา   ตัวอย่างสาระการเรียนรู้ที่ได้นำเสนอแก่อาจารย์ผู้สอนเป็นระยะ ๆ  และภาพรวม สาระทั้งหมดที่ได้ให้ความรู้แก่คณาจารย์ มาอย่างต่อเนื่อง ปรากฏดังต่อไปนี้

  • ตัวชี้วัดในการกำกับคุณภาพระดับสถาบัน  ระดับคณะ ระดับหลักสูตร และระดับอาจารย์ผู้สอนรายบุคคลby Dr. Chaipat Wattanasasan,Vice President for Academics) : เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ระดับโปรแกรมวิชา และระดับรายบุคคล ได้รับทราบตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  • ระบบ IQA ที่อาจารย์ควรรู้ (by Assist. Prof. Dr.Vichian Puncreobutr) : เพื่อให้คณาจารย์รู้-เข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพภายใน รับทราบมาตรฐาน/องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ ในการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร  ระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัย

  • The Research-based Instructional Strategies : 29 พฤษภาคม 2560 (โดย รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์) : เพื่อให้คณาจารย์เข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติในการออกแบบการเรียนรู้ ตามแนวคิด RBIS อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่สามารถบูรณาการการวิจัยและการบริการทางวิชาการ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา

  • Caring System : บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในความคาดหวังของสถาบัน  (โดย ผศ.ดร.ยงยุทธ์ ขำคง  คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ) : เพื่อสร้างความตระหนักในบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงเสนอเทคนิคและแนวทางในการปฏิบัติงานในบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา