โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

ภายใต้โครงการนี้ นับตั้งแต่ปี 2559 คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ได้ร่วมกับเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง ที่มีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นแม่ข่าย ได้ร่วมรับผิดชอบนิเทศติดตามและประเมินศักยภาพของครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่บรรจุในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และ สระแก้ว ดังนี้

120650754_341354113742162_4986078217525452290_n

 เป็นโครงการนำร่องในการปฏิรูปกระบวนการผลิตครูให้มีคุณภาพ สนองความต้องการของท้องถิ่น และนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศ ในที่สุด

กรอบทางทางการดำเนินงาน

  1. กำหนดเครือข่ายสถาบันผลิตครูเชิงพื้นที่(STIC จัดอยูในเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง)
  2. กำหนดบทบาทของเครือข่าย ดังต่อไปนี้
    1. เสนอและคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตตามสภาพความพร้อม ; ตัดสินความพร้อมของสถาบันจากผลการประกันคุณภาพภายในและคุณภาพบัณฑิต  (ในการนี้ กรณีที่มีคุณภาพหรือความพร้อมต่างกัน อาจกำหนดสัดส่วนการผลิต ตามความเหมาะสม เช่น กรณีมี 3 สถาบัน อาจกำหนดสัดส่วนการผลิตเป็น 50 : 30  :20)
    2. กำกับกระบวนการผลิตของทุกสถาบันให้มีคุณภาพ ;  ซึ่งอาจดำเนินการตามแนวทางต่อไปนี้
      • สถาบันผลิตครูต้องรายงานความก้าวหน้าและผลการผลิตบัณฑิตครูต่อเครือข่าย ทุกปีการศึกษา
      • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันเครือข่าย หรือโปรแกรมวิชาต่าง ๆเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ BP อย่างต่อเนื่อง(สัมมนาเสนอแผนจัดการเรียนรู้  ความก้าวหน้า  ผลงานนวัตกรรม  หรือ Best Practices ในด้านต่าง ๆ(วิธีการบริหารโปรแกรม  กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การปรับกระบวนการเรียนรู้เป็น PBL   การพัฒนาประสบการณ์แบบสะสมไมล์ ฯลฯ)
      • ให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วม โดยเฉพาะคณาจารย์ที่มีประสบการณ์
      • ประเมินและรับรองมาตรฐานหลักสูตรของทุกสถาบัน โดยเครือข่าย
    3. กำกับ ดูแล พัฒนาครูใหม่ ในระยะประจำการ 2 ปีแรก; ในบทบาทนี้ อาจขยายระยะเวลาในการดูแลเป็น  5-8 ปีแรก ช่วงที่เป็น Beginner ในวิชาชีพครู ทั้งนี้ หลังจากครบ 2 ปี  การดูแลต่อเนื่องควรเป็นความต้องการร่วมของสถาบันฝ่ายผลิต และท้องถิ่น
    4. ประสานกับองค์กรผู้ใช้ครูในเครือข่ายเพื่อการวางแผนและการพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นในระยะยาว; ภายใต้บทบาทนี้ ควรร่วมกับท้องถิ่นในการประเมินความต้องการจำเป็นด้านการศึกษาของท้องถิ่นเป็นระยะ ๆ และร่วมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5-15 ปี อย่างเป็นรูปธรรม
    5. เป็นศูนย์ประสานโครงการผลิตครูเพื่อท้องถิ่นเพื่อออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูลตามที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด ; ควรกำหนดรายการสารสนเทศที่ต้องการ ครอบคลุมความต้องการของ สกอ. เครือข่ายผลิตครูและท้องถิ่น  กำหนดโครงสร้างเครือข่าย(ใครทำหน้าที่เป็น center กลาง  ใครเป็น Node ใครเป็นหน่วยป้อนข้อมูล รวมทั้งการจัดทำปฏิทินสารสนเทศ ที่รับทราบตรงกัน)

โครงการนี้ ควรจัดตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการในระยะแรกเพื่อการพัฒนา ดังต่อไปนี้

  1. คณะกรรมการบริหารเครือข่าย
  2. คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ
    • คณะอนุกรรมการพัฒนากระบวนการผลิตครู(สนองบทบาทที่ 2)
    • คณะอนุกรรมการดูแล พัฒนาครูใหม่(สนองบทบาทที่ 3)
    • คณะอนุกรรมการระบบแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น(สนองบทบาทที่ 4)
    • คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศและประเมินผลโครงการ(สนองบทบาทที่ 5)

รุ่นบรรจุตุลาคม 2559 จำนวน 70 คน

รุ่นบรรจุตุลาคม 2560 จำนวน 70 คน

รุ่นบรรจุตุลาคม 2561 จำนวน 41 คน

รุ่นบรรจุตุลาคม 2562 จำนวน 48 คน

รุ่นบรรจุตุลาคม 2563 จำนวน 55 คน

การนิเทศครูในโครงการ ในระยะ 2 ปีแรก คณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดทำโครงการนิเทศร่วมกับแม่ข่าย และรับผิดชอบครูที่บรรจุในจัวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยใช้วิธีพบปะนิเทศในห้องเรียนหรือพบกลุ่ม ภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง และใช้ระบบห้องสัมมนาออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโครงการ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปลายปีงบประมาณที่ 2 ประมาณเดือนกันยายน ของทุกปี จะจัดให้ครูในโครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนางานช่วง 2 ปีการศึกษาแรกในการปฏิบัติหน้าที่ครูผู้ช่วย

>>>ตัวอย่างห้องสัมมนาออนไลน์ เพื่อการนิเทศครูในโครงการ via Facbook group<<<

สำหรับการนิเทศรุ่นที่บรรจุตุลาคม 2562 ที่อยู่ในสถานการณ์ COVID-19 ได้เน้นการนิเทศออนไลน์ สัมมนาเสนอความก้าวหน้า และประชุมนิเทศออนไลน์ จังหวัดละ 2-3 รอบต่อภาคเรียน และจัดให้มีการสัมมนาเสนอผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในปลายปีงบประมาณที่สอง

>>>รุ่นที่ 4 บุรรจุตุลาคม 2562 สัมมนาเสนอผลงานครั้งสุดท้าย 13 พฤศจิกายน 2564<<<

เอกสาร สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศครูในโครงการ

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.