การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ครูผู้สอน/ผู้ประกอบวิชาชีพครู จะต้องเป็นนักสังเกต และนักพัฒนา ในภาคเรียนที่ฝึกสอนเต็มเวลา นักศึกษาครู จะต้องพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อย่างน้อย 1 รายการ โดยทำคนเดียว หรือทำร่วมกับครูพี่เลี้ยงก็ได้ ทางเลือกที่เป็นไปได้ เช่น

  1. ดำเนินการแก้ปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล/รายกลุ่ม เป็นกรณีศึกษา โดยให้ครูสังเกตนักเรียนในห้องที่มีภูมิหลังเรียนอ่อนมาก ๆ และไม่ตั้งใจเรียนมีใครบ้าง>>>พยายามมองหาสาเหตุของปัญหา.. ศึกษาแนวคิด ทฤาทางจิตวิทยา แล้วนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาเฉพาะรายที่เห็นว่าวิกฤติ……………….ผลงานวิจัยแบบนี้ คือ การศึกษารายกรณี ” A Case Study of……………………………” ในการเขียนรายงานการวิจัย ไม่ต้องระบุชื่อนักเรียน จะเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล ผิดกฏหมาย
  2. พัฒนาสื่อ/ชุดฝึกทักษะ สำหรับเนื้อสาระที่ยาก หรือนักเรียนกลุ่มอ่อนไม่ค่อยเข้าใจ…… ครูสังเกต รวบรวมข้อมูล เนื้อหาที่เราสอน หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ใด เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก นักเรียนมักจะมีปัญหา สับสน แล้วสอบตก… กรณี เช่นนี้ ให้พัฒนาชุดสื่อ/ชุดฝึกทักษะ…ชื่อเรื่อง “การพัฒนาชุดการสอนเรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก”…..หรือทำในเรื่องที่ยาก เด็กไม่ค่อยเข้าใจ
  3. พัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสมรรถนะสำหรับนักเรียนกลุ่มเก่ง “การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โต้วาที สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนายกพิทยาคม”
  4. นำแนวคิดวิธีการใหม่ที่เรียนมา นำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน เช่น ” การประยุกต์ใช้กิจกรรมเกมส์ เพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่อง……………………..” “การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือในการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน…จังหวัดนครนายก”…… ” การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในครอบครัว เพื่อการเรียนรู้เรื่อง การหาพื้นที่ และปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ หก โรงเรียน………….จังหวัดปทุมธานี”

หมายเหตุ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อาจเขียนเป็นบทสรุปการวิจัย ไม่เกิน 15 หน้า เพื่อเผยแพร่หรือส่งอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยง พร้อมรวบรวมไว้ ใน E-Portfolio ของตนเอง