การวิจัยและส่งเสริมการวิจัย

1. คณะมีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม  เป็นระบบการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักรู้-awareness ให้คณาจารย์ทุกคนรับรู้ว่า การวิจัยเป็นพันธกิจสำคัญในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับ  2) ปฐมนิเทศ-เสริมความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะงนวิจัยที่ควรดำเนินการ สำหรับคณาจารย์ใหม่ โดยประกาศจุดเน้นสนับสนุนการวิจัย 4 ประเภท คือ วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตร   วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศึกษาศาสตร์  วิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และวงวิชาการ  และ  การวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทางการศึกษาหรือหน่วยบริการสังคมทั่วไปรวมทั้งการเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะการวิจัย ตามสภาพความต้องการจำเป็น 3) การวางแผน จัดทำโครงการสนับสนุนการวิจัย ปฏิทินการขับเคลื่อนงานวิจัยในรอบปีและการสนับสนุนทุนวิจัย ตามเงื่อนไขของสถาบัน และการสรรหาแหล่งทุนจากภายนอก และการจัดสรรทุนวิจัยจากโครงการบริการทางวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก  4) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  5) ร่วมมือกับสถาบันเพื่อพิจารณาจัดสรรทุนวิจัยประจำปี และร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ เพื่อการวิจัยแลัะพัฒนานวัตกรรม 5) กำกับ ติดตาม นิเทศงานโครงการวิจัยโดยกรรมการบริหารคณะ และคณาจารย์อาวุโส  6) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ด้านการวิจัย และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยรูปแบบต่าง ๆ และ  7) ติดตาม ตรวจสอบ การใช้ผลการวิจัยและวิเคราะห์ปัญหา-ความต้องการจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อการวางแผนส่งเสริมการวิจัยอย่างต่อเนื่อง  โดยมี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย เป็นผู้กำกับ ดูแลให้เกิดการพัฒนาการวิจัยตามระบบดังกล่าวข้างต้นนี้

2. คณะมีระบบสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรม เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ร่วมกับสถาบัน(STIC MIS) เป็นสิ่งสนับสนุนเพื่อเกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น ห้องปฎิบัติการวิจัย หรือหน่วยวิจัย หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัย และกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น ห้องออนไลน์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้จากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย เป็นต้น

             ปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information System-MIS) ซึ่งเป็นระบบที่คณะใช้ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการทำวิจัย และสร้างโอกาสในการพัฒนาคณาจารย์ด้านงานวิจัย โดย (1) คณะผู้บริหารของคณะฯ สามารถนำข้อมูลด้านการวิจัยจากระบบ MIS มาตรวจสอบเพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของงานวิจัย และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของงานวิจัยรวมถึงเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการมอบหมายภาระงานสอนหรืองานด้านอื่น ๆ และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาพัฒนา และยก ระดับงานวิจัยให้ไปสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น (2.1.1.1)  (2) แหล่งการเผยแพร่ ระบบ MIS ทำให้คณะฯ มีข้อมูลในการตัดสินใจว่างานวิจัยในปีต่อไปควรพัฒนาให้มีแหล่งเผยแพร่ให้เป็นที่ยอมรับ และขยายวงกว้างออกไปจากเดิมให้มากขึ้น รวม ทั้งระบบ MIS ที่แสดงถึงแหล่งการเผยแพร่ยังสามารถบ่งบอกถึงศักยภาพและคุณภาพของงานวิจัยของอาจารย์แต่ละท่านได้ (2.1.1.2)

3. คณะมีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม  โดยจัดตั้งงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ และเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ  ปีละ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

   คณะได้ตั้งงบประมาณเพื่อการวิจัยไว้ที่สำนักวิจัย โดยวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนเงินทุนเพื่อทำวิจัยให้แก่อาจารย์ (2.1.3.1) ในปีการศึกษา 2563 คณะศึกษาศาสตร์ได้รับงบอุดหนุนการวิจัยภายในรวมทั้งสิ้น 380,000 บาท (2.1.3.2) ซึ่งรวมถึงจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

4. คณะมีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ดีเด่น หรือผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน หรือผลงานบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและพันธกิจอื่นๆเพื่อสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียน  บทบาทที่โดดเด่นในด้านนี้ คือ การส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานวิจัย(Research-Based Instructional Strategies -RBIS) โดยให้คณาจารย์แต่ละรายวิชาออกแบบการวิจัยที่บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน  รวมทั้งการนี้นำให้คณาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการบริการทางวิชาการ ได้ทำการทดลอง วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการทางวิชาการ ทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ(Research and Development)  หรือการวิจัยประเมินผลโครงการ(Evaluation Research) โดยมุ่งหวังให้อาจารย์ทำวิจัยบูรณาการผ่านรายวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง ต่อคน ต่อ ปี

5. คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม กับคณะ สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสร้างผลงานวิจัย หรือผลงานนวัตกรรมทางเทคโนโลยี หรือผลงานนวัตกรรมทางสังคมร่วมกัน  หน่วยงานเครือข่ายเพื่อการร่วมมือ เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) โดย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นกรรมการสนับสนุนทุนการวิจัยของ สมศ.  หรือโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์  โดยมีโครงการพัฒนางานวิจัยและวิชาการระหว่างคณะศึกษาศาสตร์กับคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Iloilo ประเทศฟิลิปปินส์ (2.1.5.2) เป็นต้น

6. คณะมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักวิจัย และการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์ ไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชุมชนสังคม  ในปัจจุบันได้ร่วมกับวิทยาลัยในการกำกับ ดูแล คุ้มครองสิทธิ์ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์

7. คณะมีการดำเนินการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์  เป็นการดำเนินการร่วมกันกับคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยของสถาบัน ศึกษาผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือ การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของคณะ และสถาบัน

>>>ENRICHMENT PROGRAM FOR RESEARCH <<<

>>>GENERAL QUALITY OF RESEARCH ASPECT<<<