Academic Services

Screen Shot 2021-11-03 at 2.48.53 PM

เรามุ่งทำอะไรในการบริการทางวิชาการ; Education-Hub is our Commitment

คณะศึกษาศาสตร์ ตระหนักในความสำคัญของภารกิจบริการทางวิชาการแก่สังคม  ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยในการประกาศแนวคิดและดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแนวคิด ที่สำคัญๆ คือ

1. การจำแนกเขตพื้นที่บริการทางวิชาการเป็น 4 ระดับ คือ ระดับชุมชนที่ตั้งวิทยาลัย คือ อำเภอองค์รักษ์  ระดับท้องถิ่นที่ตั้งวิทยาลัย คือ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และ ปทุมธานี   ระดับภูมิภาค คือภาคตะวันออก  และระดับวงวิชาการทั่วไป ที่ถือเป็นระดับประเทศและนานาชาติ

2. การกำหนดเป้าหมายให้สถาบันเป็นศูนย์รวมในการบริการทางวิชาการและบริการด้านการศึกษา(Education-HUB) ให้แก่ภูมิภาคและสังคมวงวิชาการทั่วไป   ซึ่งภายใต้เป้าหมายนี้ คณะศึกษาศาสตร์ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยในการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและบริการทางสังคมที่สำคัญ ๆ เช่น

2.1  เน้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแก่นักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นพิเศษของสถาบัน คือ “ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ : เพื่อสร้างโอกาสในชีวิตของเยาวชน”  โดย ในการนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษของผู้เรียนทุกคน  และส่งเสริมให้นักศึกษาของคณะ ได้พัฒนาตนเองด้านทักษะภาษา และนำความสามารถพิเศษด้านนี้ สู่การบริการทางวิชาการแก่ชุมชนด้วย(ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งต่อชุมชน และต่อการพัฒนาตเองของนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง)

2.2  บริการทางวิชาการหลักสูตรนานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ…มุ่งจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อครูชาวต่างชาติที่มาประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทย   ซึ่งในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2550 พบว่า มีชาวต่างชาติจำนวนมากได้เข้ามาประกอบวิชาชีพครูในโรงเรียนนานาชาติ หรือโรงเรียน 2 ภาษา หรือสอนในโปแกรมภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของไทย   ครูเหล่านี้ ส่วนหนึ่งไม่มีประสบการณ์การเป็นครู และไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา  ทำให้ประสบปัญหาในการสอนและการประกอบวิชาชีพ ด้วยการมองเห็นปัญหาในเรื่องนี้ คณะศึกษาศาสตร์จึงได้ร่วมมือกับวิทยาลัยในการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สำหรับครูกลุ่มนี้(สำเร็จปริญญาใด ๆ จากประเทศใด ๆ ที่ไม่ใช่ปริญญาทางการศึกษาที่ประเทศไทยให้การรับรอง)      ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 โดยวิทยาลัยได้เริ่มรับครูต่างชาติเข้าเรียนเป็น 1 หมู่เรียนในปีแรก ๆ  ประมาณ 30 คน และขยายจำนวนมากขึ้นในปีหลัง ๆ จนในปัจจุบัน ปี 2563-2564  ได้ขยายจำนวนห้องเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ เป็นรุ่นละ 90 คน  และมีแนวโน้มอาจจะต้องขยายจำนวนรับมากขึ้นในปี 2565-2569 เพื่อสนอความต้องการหลักสูตรนี้ค่อนข้างมาก  ทั้งนี้ เพราะวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อบริการให้กับครูชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ทั้วใประเทศไทย

ในปี 2563 คณะได้เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา เพิ่มเติมเป็นหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้(Learning Management Science)  เป็นการเปิดหลักสูตรเพิ่มเติม จากเดิมที่มีหลักสูตรปริญญาโทเพียงสาขาวิชาเดียว คือ ปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  อีกทั้ง ในปี 2565 ทางคณะได้เตรียมความพร้อมและเตรียมการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริการการศึกษา ที่เป็นหลักสูตรนานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

2.3 การเป็นศูนย์กลางในการบริการทางวิชาการ สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว  โดยทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการนิเทศและพัฒนาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ที่ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ที่มีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นแม่ข่าย   และดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง(U-SCHOOL MENTORING) ภายใต้การร่วมมือกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก ที่มีมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นพี้เลี้ยง

2.4 การพัฒนาสถาบันให้เป็นศูนย์กลางในการบริการทางวิชาการโดยทั่วไป โดยประกาศความพร้อมในการบริการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามความต้องการของภูมิภาคและวงวิชาการทั่วไป

2.5 การสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนความรู้ทางวิชาการและแลกเปลี่ยบนเรียนรู้แก่วงวิชาชีพครูและวิชาชีพบริการการศึกษาของประเทศ  เช่น การสร้างกลุ่มเปิดผ่านเครือข่าย Podcast เพื่อบริการทางวิชาการ-บริการความรู้    การสร้างกลุ่มเปิด ผ่าน CLUBHOUSE เพื่อเสวนาทางวิชาการประจำสัปดาห์สำหรับกลุ่มสนใจทางการศึกษา เฉพาะเรื่อง   การสร้างกลุ่มเฉพาะสำหรับผู้สนใจเฉพาะทาง ผ่าน Facebook Group  เป็นต้น

2.6 การจัด Webinar  ประจำภาคเรียนและประจำปีการศึกษา ….  ที่ผ่านมาระกว่างปี 2562-2564 ได้จัดเป็นกลุ่มเปิด ที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง  ในอนาคต คณะได้กำหนดนโยบายให้จัดสัมมนาเป็นโปรแกรมประจำปี ที่เน้นการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง เพื่อบริการทางวิชาการในระดับประเทศและนานาชาติไปในตัว