กิจกรรมเสริมประสบการณ์ สำหรับนักศึกษา

language-lab-banner

นักศึกษาระดับปริญญาตรี

การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา หลังจากได้รับการคัดเลือก และการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ดำเนินการผ่านทางเลือกที่สำคัญ ๆ 4 ช่องทาง ประกอบด้วย

ช่วงเริ่มต้นการเรียน

1. English Intensive Course : ปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ ด้ายการทดสอบความสามารถพื้นฐาน จัดกลุ่มตามความสามารถ และ สอนเสริม 8-10 สัปดาห์ แล้วทดสอบซ้ำเพื่อดูพัฒนาการ และเตรียมการให้เรียนเสริมอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษากลุ่มเสี่ยง

2. Orientation : ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่  ดังกรณีตัวอย่าง ปี 2560

ระหว่างเรียนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3. การฝึกปฏิบัติผ่านรายวิชา : แต่ละรายวิชาเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี  การทดลองปฏิบัติการ  รวมถึงการปฏิบัติในรูปแบบของโครงงานต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาแก้ปัญหาในสภาพจริง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน(Problem-based Learning)

4. การฝึกปฏิบัติพิเศษในภาคเรียน(Practicum) : นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทุกโปรแกรม จะต้องออกฝึกปฏิบัติย่อยในภาคต้น และ ภาคปลาย  อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ต่อภาคเรียน ทั้งนี้ ในการฝึกปฏิบัติ จะเน้นการฝึกทักษะหรือรายการเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรกำหนด

5. การฝึกประสบการณ์พิเศษตามระดับชั้นปี : นักศึกษาจะได้รับการเสริมประสบการณ์พิเศษจากการศึกษาดูงานหรือร่วมกิจกรรม ตามระดับชั้นปี ในทุกรุ่น  ระหว่างปี 2560-2563 ได้กำหนดแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานหรือฝึกประสบการณ์พิเศษ ดังนี้

6. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระยะยาว(Internship) : นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ต้องฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ โดยต้องฝึกปฏิบัติและผ่านการประเมินทักษะที่สำคัญ ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด

 

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับนักศึกษาระดับัณฑิตศึกษา คณะได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้วยช่องทางต่อไปนี้

  1. การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่  มอบคู่มือนักศึกษาที่มีเนื้อหาสำคัญ คือ ชุดกิจกรรมพัฒนาตนเองตามหลักสูตรเพื่อเติมเต็มความเป็นครู  มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน  2 ส่วนสำคัญ คือ
  2. การทำกิจกรรมผ่านการเรียนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ทุกวิชา ออกแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและเน้นกลยุทธ์การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน(The Research-based Instructional Strategies)  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการสืบค้นข้อมูลหรือการสังเคราะห์วรรณกรรม  มีทักษะในการศึกษาค้นคว้า วิจัยในประเด็นที่สนใจ  มีทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม รวมถึงทักษะเชิงตัวเลข ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพในอนาคต(อันเป็นทักษะสำคัญตามมาตรฐาน TQF)
  3. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านวิชา Practicum ที่ผู้เรียนจะต้องฝึกปฏิบัติในภาคเรียนที่ 2 และ ที่ 3 ตามรายการสมรรถนะที่หลักสูตรกำหนด  โดยส่วนหนึ่ง นักศึกษาจะปฏิบัติงานตามชุดกิจกรรมที่มอบหมายในคู่มือนักศึกษา อีกส่วนหนึ่ง เป็นการพัฒนาตนเองตามแผนจัดประสบการณ์ที่นักศึกษาออกแบบพัฒนาตนตามความเห็นชอบของ อ.นิเทศก์หรืออ.ที่ปรึกษาวิชาการ และอาจารย์พี้เลี้ยงในสถานศึกษา(หรือในหน่วยงานที่ฝึกปฏิบัติ) ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องประเมินตนเองและได้รับการประเมินยืนยันจากอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ โดยต้อได้รับผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ ๆ ในระดับ “พอใช้” ขึ้นไปในทุกรายการ