ระบบแผน-ระบบบริหารจัดการ

คณะศึกษาศาสตร์ ประยุกต์ใช้ แนวคิดการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ที่ประยุกต์จากแนวคิด การประเมินแบบเสริมพลัง(Emoowerment Evaluation by David Fathermann)ในการบริหารจัดการคณะ ที่กำหนดระบบหรือขั้นตอนการบริหารจัดการ ดังต่อไปนี้

  1. วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจขององค์กร(Mission Analysis) : ครอบคลุมในเรื่องการตรวจสอบการทำงานตามพันธกิจหลัก 4 ประการ และงานบริหารจัดการตามที่ได้รับมอบหมายจากวิทยาลัย
  2. วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา(Taking Stock): เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถาบันและของคณะรวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ หรือระดับสถาบัน
  3. กำหนดเป้าหมายคุณภาพ(Setting Goal) : เป็นการกำหนดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมายสำคัญๆ ในรอบปีถัดไป เช่น ผลการประเมินปีหลังเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนที่ยังสามารถพัฒนาได้เมื่อเทียบกับปีก่อน
  4. กำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies) : เป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3-5 ปี ที่มีการทบทวนแผนทุกปี ก่อนที่จะจัดทำเป็นแผนปฏิการประจำปี   โดยแผนปฏิบัติการประจำปีจะต้องรองรับหรือสอดคล้องปัญหา-ความต้องการจำเป็น  ผลการประเมินคุณภาพในปีการศึกษาที่ผ่านมา และมุ่งแก้ปัญหาหรือมุ่งป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ ๆขององค์กร
  5. ดำเนินการตามแผน(Implementing) : ในขั้นตอนนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำปฏิทินการกำกับติดตามงาน  การรายงานความก้าวหน้า หรือการสัมมนาประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจุบัน ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ ไอ ซี ที เพื่อการกำกับติดตาม(E-Monitoring) และ
  6. ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress): เน้นการรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนการทำงานหรือผลงาน  การจัดทำฐานข้อมูล หรือแฟ้มสะสมงานในระดับรายบุคคล ระดับหน่วยงานย่อย ระดับโปรแกรมวิชา เป็นต้น